เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อที่ชื่อว่า อะดิโนไวรัส (Adenovirus)
สามารถติดต่อได้ง่ายๆ โดยการคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดงสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อโรคตาแดง มาจากการสัมผัสน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง
- ใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย - ฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา - แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา - ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า โรคตาแดงไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศหรือการรับประทานอาหารร่วมกันอาการต่างๆจะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้ จะมีอาการตาแดงอย่างรวดเร็ว เคืองตาเจ็บตา น้ำตาไหล ไม่มีขี้ตา นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาจึงจะมีขี้ตา บางรายมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตและเจ็บผู้ที่เป็นมักจะเริ่มเป็นที่ตาข้างหนึ่งก่อน ต่อมาอีก 2-3 วันก็จะลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่ง ระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นนานประมาณ 10-14 วัน ในบางรายเมื่อตาแดงดีขึ้น อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ตาดำอักเสบโดยผู้ป่วยสังเกตว่ามีอาการตามัวลง ทั้งๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว มักเกิดขึ้นในวันที่ 7-10 หลังเริ่มเป็นตาแดง ตาดำอักเสบนี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นอยู่นานหลายๆ เดือนกว่าจะหาย เนื่องจากโรคตาแดงเกิดจากเชื้อไวรัส จึงยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ ยาต้านเชื้อไวรัสต่างๆที่มีขณะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคนี้ส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาโดย - การใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา และป้ายตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักจะเกิดตามมา - ถ้ามีอาการเจ็บตาให้รับประทานยาแก้ปวด เช่นพาราเซตามอล
- ถ้ามีอาการเคืองตา แพทย์จะแนะนำให้ใส่แว่นกันแดด
- ไม่ควรปิดตาและไม่จำเป็นต้องล้างตา นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และพักการใช้สายตาระยะเวลาการรักษานานประมาณ 2 สัปดาห์ 1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง 2. ดึงหนังตาล่างลง 3. ตาเหลือกมองเพดาน 4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง 5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจายการหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา 6. เช็ดยาที่ล้นออกมา 7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ โรคตาแดงเป็นโรคที่ไม่มีการรักษาโดยตรงมีการระบาดอย่างรวดเร็ว และติอต่อกันง่ายมาก การป้องกันระมัดระวังไม่ให้ติดโรคนี้ทำได้โดย - การแยกผู้ป่วย เช่น หยุดงาน หยุดเรียน - ไม่ใช้สิ่งของปะปนกับผู้อื่น - ไม่ใช้มือป้ายตาและขยี้ตาเพราะเชื้อโรคจะติดไปยังสิ่งของที่ผู้ป่วยหยิบจับ - ล้างมือบ่อยๆให้สะอาด - ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกันในผู้ที่เป็นตาแดงในตาข้างหนึ่ง ส่วนตาอีกข้างหนึ่งไม่มีอาการ ให้หยอดตาเฉพาะข้างที่เป็นตาแดงเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องหยอดตาข้างปกติด้วยเพราะจะเป็นการนำเชื้อจากตาข้างที่เป็นไปยังตาข้างปกติ
อาการตาแดงนอกจากจะเกิดจากโรคตาแดง ซึ่งมีการระบาดกันอยู่บ่อยๆแล้วยังอาจพบได้ในโรคตาอื่นๆ อีกหลายโรค และบางโรคมีอันตรายร้ายแรงทำให้สูญเสียสายตาได้ เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาดำอักเสบดังนั้นเมื่อเกิดอาการตาแดงขึ้น ควรได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
Reference : โรคตาแดง
• ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรคกระทรวงสาธารณสุข • www.thaihealth.or.th • www.pharm.su.ac.th • www.baanjomyut.com |