สุขอนามัยกับการล้างมือล้างมือบ่อยครั้ง หยุดยั้งเชื้อโรค
มือนำเชื้อโรคอะไรได้บ้าง
โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โดยติดต่อผ่านการหายใจเอา เชื้อโรคเข้าไป และติดต่อได้จากการที่มือสัมผัสกับสิ่งของ เครื่องใช้ หรือสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย (น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เลือด)โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคพยาธิชนิดต่างๆ การติดต่อเกิดจากการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่านั้น แล้วหยิบจับอาหารรับประทานโรคติดต่อจากการสัมผัสได้โดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง หิด เริม การติดต่อ เกิดจากมือไปสัมผัสแผล ฝี หนอง โดยตรง แล้วมาสัมผัสกับส่วนต่างๆ ของร่างกายโรคติดต่อที่รุนแรง เช่น โรคไข้หวัดมรณะ (SARS) โรคไข้หวัดนก การติดต่อเกิดจากการรับ เชื้อทางระบบทางเดินหายใจ หรือมือไปสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ (น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เลือด) จากสัตว์ปีกที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกการล้างมือสำคัญอย่างไร
มือ เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่างๆ
ได้ เมื่อใช้มือหยิบจับอาหาร หรือสิ่ง ของต่างๆ
และมือสามารถนำเชื้อโรคไปปนเปื้อนสิ่งของรอบๆ ตัว
ทำให้ผู้อื่นได้รับเชื้อโรคไปด้วยการล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี
จึงเป็นวิธีที่มีความสำคัญ เพื่อป้องกัน ไม่ใช้เชื้อโรคต่างๆ
เข้าสู่ร่างกาย
จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า
เมื่อไหร่จึงควรล้างมือ
ในชีวิตประจำวัน ควรล้างมือในกรณีต่างๆ คือ
สุขอนามัยกับการล้างมือ
สุขอนามัยเป็นการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันที่มีผลโดยตรง และโดยอ้อมต่อสุขภาพ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น
การมีสุขอนามัยในเรื่องการรักษาความสะอาดร่างกาย
ได้แก่ การอาบน้ำ แปรงฟัน สระผม ล้างมือ ตัดเล็บ เป็นต้น การปฏิบัติ
ตัวเหล่านี้เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้อง และเป็นนิสัย จะเป็นการดูแลสุขภาพ
และการป้องกันโรคต่างๆ ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย
และเนื่องจากมือ เป็นพาหะสำคัญที่นำเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย
การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี จึงเป็นวิธีป้องกันโรคที่ง่าย สะดวก
และประหยัด ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง
ลดติดเชื้อ อย่าเบื่อล้างมือ
ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายด้วยการล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธีง่าย สะดวก ประหยัด และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
7 ขั้นตอนง่ายๆในการล้างมือให้สะอาดถูกหลักอนามัย
1. ฝ่ามือถูกัน
2. ฝ่ามือถูหลังมือและซอกนิ้วมือ 3. ฝ่ามือถูกฝ่ามือและซอกนิ้วมือ 4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ 5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ 6. ปลายนิ้วถูฝ่ามือ 7. ถูรอบข้อมือ ***และทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง***
แหล่งที่มาของข้อมูล ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) |